
เลื่อย เครื่องมือช่างที่ต้องใช้
เลื่อยเป็นเครื่องมือช่างที่ต้องมือติดบ้านอยู่ทุกหลัง เหมาะสำหรับงานช่างภายในบ้าน หรือกระทั่งการทำสวนเลื่อยก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดตกแต่งกิ่งไม้ต่างๆ เลื่อยมีให้เลือกมากมายหลายชนิดตามรูปแบบของการใช้งานมีทั้งแบบใช้แรงกาย หรือใช้ไฟฟ้าในการทุนแรงก็มีให้เลือกใช้
ประเภทของเลื่อยที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือเลื่อยลันดา หรือเลื่อยมือที่บ้านแทบทุกหลังมีติดเอาไว้ เครื่องมือช่างชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นเลื่อยใบใหญ่ โดยด้ามจับจะมีขนาดใหญ่ และค่อยๆ เล็กลงจนไปถึงอีกด้าน ส่วนซี่ฟันมีเรียงกันอยู่ตลอดทั้งแนวของแผ่นเลื่อย ทำให้เหมาะกับงานตัดแผ่นไม้ต่างๆ โดยความยาวของเลื่อยลันตา จะมีตั้งแต่ 16-24 นิ้ว ประเภทถัดมาคือ เลื่อยตัดเหล็ก การใช้งานก็เป็นไปตามชื่อคือเอาไว้สำหรับตัด หั่นเหล็กโดยเฉพาะ เช่นน็อต, สกรู หรือท่อพีวีซี ก็สามารถใช้เลื่อยชนิดนี้ได้เช่นกัน ด้วยตัวซี่ฟันของเลื่อยชนิดนี้ค่อนข้างถี่ และละเอียดทำให้ไม่เหมาะกับการนำไปตัดไม้ เลื่อยตัดเหล็กมีความยาว 12 นิ้ว และสามารถถอดใบเลื่อยออกมาจากด้ามได้
เลื่อยชนิดต่อมาเหมาะสำหรับใช้ในงาน DIY หรือเอาไว้ใช้ในสวนก็ได้ คือเลื่อยหางหนู ที่มีลักษณะคล้ายมีดได้ได้ยาวมากนัก ซี่ฟันของเลื่อยมีความแหลมคมจึงสามารถนำไปตัดสิ่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย อีกหนึ่งประเภทที่เหมาะสำหรับเอาไว้ใช้ในสวนก็คือเลื่อยคันธนู ที่เหมาะกับการนำไปตัดกิ่งไม้ต่างๆ หรือสามารถนำไปตัดลำต้นของไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากก็ได้เช่นกัน ลักษณะของเลื่อยคันธนูจะคล้ายกับเลื่อยตัดเหล็ก แต่มีขนาดเบา ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกแถมยังมีขนาดให้เลือกหลายขนาดไล่ตั้งแต่ 12 นิ้ว ไปจนถึง 30 นิ้ว
เลื่อยอีกหนึ่งชนิดที่เราจะมานำเสนอกันคือเครื่องมือช่างที่ใช้ได้แบบอเนกประสงค์ ได้แก่เลื่อยพลูซอ ที่สามารถใช้ตัดได้ตั้งแต่ กิ่งไม้ ท่อพีวีซี ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ เลื่อยชนิดนี้มีขนาดที่เล็กแถมยังสามารถพับด้านของใบเลื่อยเข้ามาเก็บได้เหมือนกับมีดพับ ส่วนตัวซี่ฟันที่ขนาดใหญ่ และคมจึงเหมาะกับการเลื่อยกิ่งไม้ สุดท้ายเลื่อยปากไม้ ที่เป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้าเอาไว้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือชนิดนี้ก็ไม่ต่างจากชิ้นอื่นๆ คือต้องเลือกประเภทของเลื่อยให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานไม่เช่นนั้นแล้ว ใบหรือซี่ฟันของเลื่อยมี่โอกาสบิด และเสียหายได้ รวมไปถึงอาจจะทำให้หักและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ ส่วนวิธีการเก็บรักษาแต่ทำความสะอาดหลังการใช้งาน และทากันสนิม หากเป็นไปได้ควรลับใบเลื่อยด้วยตะไบตกแต่ง เพื่อให้ซี่ฟันคมอยู่เสมอ