ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเลื่อยชักไฟฟ้า และวิธีใช้งานเลื่อยชักไฟฟ้า
เลื่อยชักไฟฟ้า (Electric Saw) ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่าง ที่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการใช้งานสำหรับตัดชิ้นส่วนวัสดุต่างๆไม่ว่าจะเป็นพลาสติก โลหะ หรือไม้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตัดวัสดุอื่นๆได้อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเห็นเลื่อยไฟฟ้าถูกนำมาใช้ในงานช่างก่อสร้างเป็น ประเภทงานรื้อถอน และงานติดตั้งอุปกรณ์กระจกสำหรับประตูหน้าต่างเป็นหลัก รวมไปถึงงานช่างชนิดอื่นๆได้อีกหลากหลายรูปแบบ
ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์การช่าง อย่างใบของเลื่อยชักไฟฟ้านั้น จะถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงซึ่งโดยส่วนใหญ่มักทำมาจากเหล็กคุณภาพดี อีกทั้งชิ้นส่วนโครงสร้างอื่นๆของเลื่อยชักไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสวิตซ์เปิดปิด ตัวเครื่องยนต์ ไปจนถึงด้ามจับ ใช้วัสดุระดับสูงในการผลิต เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในด้านการใช้งานนั้น จะเห็นได้ว่าเลื่อยไฟฟ้าถูกขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ที่มีกำลังแรงส่ง อยู่ในระดับสูง โดยตัวใบเลื่อย สามารถปรับระดับให้เคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ด้านหลัง การเคลื่อนที่ขึ้น และลง รวมไปถึงในบางรุ่น มีการเพิ่มฟังก์ชันพิเศษ ไม่สามารถปรับองศาระดับการเอียงของใบเลื่อยให้ทำมุมในขนาดต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์ในด้านการใช้งานไม่ว่าจะเป็นในด้านของความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และช่วยประหยัดเวลา ในการทำงาน
เทคนิคและ วิธีใช้งานเลื่อยชักไฟฟ้า ที่ถูกต้อง
สำหรับเทคนิคและ วิธีใช้งานเลื่อยชักไฟฟ้า ที่ถูกต้องนั้น มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
- ก่อนใช้งานเครื่องชักไฟฟ้าควรจะต้องหมั่นตรวจสอบสภาพความพร้อมของเลื่อยชักไฟฟ้าอยู่เสมอ
- ก่อนการใช้งานตัวผู้ใช้งานเองก็ควรจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจมาเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
- เริ่มต้นด้วยการเปิดสวิตซ์ที่เป็นเมนหลักของเครื่อง เพื่อเป็นให้มีกระแสไฟฟ้าใช้ สำหรับการทำงานของเครื่องยนต์
- ทำการยกโค้งของเลื่อยชักไฟฟ้าเอาไว้ก่อนที่จะเริ่มต้นตัดวัสดุ
- ใช้ปากกาจับงาน ในการบีบหรือจับชิ้นงานที่ต้องการตัดเอาไว้ โดยกะระดับความแน่นให้พอดีเพื่อให้สามารถเลื่อนปรับเปลี่ยนตำแหน่งของชิ้นงานได้
- ค่อยๆวางโครงเรื่อยลงไปที่ตัววัสดุที่ต้องการตัด โดยในขั้นแรก พยายามเล็ง ให้ฟันของตัวใบเลื่อยนั้น อยู่ห่างจากชิ้นวัสดุประมาณ 10 มม
- ใช้ไม้บรรทัดเหล็ก มาเป็นตัววัดระยะและขนาด ในการปรับระดับความยาวของตัวชิ้นงานวัสดุ
- ปรับระดับการจับของปากกาจับงานให้มีความแน่นมากขึ้น จนไม่สามารถเลื่อนชิ้นงานได้
- ตั้งระยะแขน ให้ได้ระดับความยาวเทียบเท่ากับตัวชิ้นงานหรือวัสดุที่ต้องการตัด
- ทำการเปิดสวิตช์เพื่อเริ่มต้นการทำงานของเลื่อยชักไฟฟ้า
- ทำการปรับระบบตัด ของไฮโดรลิค ให้เลื่อนไปตามทิศทางที่ต้องการอย่างช้าๆ
- ในระหว่างการใช้งาน มันใช้ท่อน้ำหล่อเย็น ฉีดเข้ามาที่บริเวณคลองเลื่อย เพื่อให้ความร้อนได้ระบาย จนลดลง
- ใช้เลื่อยชักไฟฟ้าตัดชิ้นงานไปเรื่อยๆจนกว่าจะเสร็จ และตรงตามลักษณะของงานที่ต้องการ
แนะนำวิธีใช้งานเลื่อยชักไฟฟ้าอย่างปลอดภัย สำหรับงานช่าง
สำหรับวิธีใช้งานเลื่อยชักไฟฟ้าอย่างปลอดภัยในการทำงานช่างนั้น โดยเบื้องต้นแล้ว มีข้อควรปฏิบัติที่สำคัญดังนี้
- หมั่นตรวจเช็คความพร้อมของตัวเลื่อย ในทุกส่วนให้เรียบร้อย ก่อนเริ่มต้นใช้งาน
- ก่อนเริ่มต้นเปิดสวิตช์เพื่อตัดชิ้นงาน ควรทำการปรับระดับความแน่นของปากกาจับชิ้นงานให้เรียบร้อยเสียก่อน
- ไม่ควรใช้เลื่อยชักไฟฟ้าในการตัดชิ้นงาน ที่มีระดับความยาว ไม่เท่ากับ ตัวปากกาจับงาน เพราะอัดส่งผลให้ใบเลื่อยเสียหายหรือหักลงได้
- ในกรณีที่ต้องตัดชิ้นงานหรือวัสดุที่มีความยาวมากๆ ให้หาฐานมาลองรับบริเวณส่วนปลายของชิ้นงานเอาไว้
- ตั้งระยะห่างของใบเลื่อย ให้ห่างจากตัวชิ้นวัสดุที่ต้องการตัดประมาณ 10 mm ก่อนเริ่มต้นเปิดสวิตช์
- ระวังการใช้งานในระหว่างการป้อนตัดไฮดรอลิค เพราะหากมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ใบเลื่อยหักหรือชำรุดได้
- ผู้ใช้งานควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการหล่อเย็นอย่างถูกต้องตามแต่ละประเภท
- พยายามเว้นระยะห่างของหน้าผู้ใช้งานกับตัวเลื่อยเอาไว้เสมอ และไม่ควรก้มหน้าลงไปชิดกับส่วนของตัวเลื่อยมากเกินไปในขณะที่ใช้งานอยู่
- ไม่ควรหมุนหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งของปากกาจับงานในระหว่างที่เลื่อยกำลังตัดชิ้นงานอยู่
- มีสติสัมปชัญญะอย่างครบถ้วนทุกครั้งพี่ใช้งานเลื่อยชักไฟฟ้า